หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556

       
KM : เรื่อง การละเล่นพื้นบ้านสำหรับเด็ก
             จัดทำขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการละเล่นพื้นบ้านสำหรับเด็กในการละเล่นต่างๆ ที่มีมาแต่อดีต การละเล่นต่างๆ แฝงได้ด้วยประโยชน์ที่จะส่งเสริมพัฒนาการในด้านต่างๆ ของเด็กๆ ให้มีการพัฒนาที่สมวัยและส่งเสิรมให้มีการอนุรักษ์การละเล่นที่มีมาแต่อดีตให้ยังคงอยู่และสืบทอดต่อไปแก่เด็กและเยาวชนต่อไป 

วัตถุประสงค์ของจัดการทำ KM
เพื่อส่งเสริมการละเล่นพื้นบ้านกับพัฒนาการของเด็ก

ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการจัดทำ KM
ขาดการเตรียมความพร้อมในการทำ KM 
การล่ะเล่นบางอย่างรู้แต่เพียงชื่อแต่ก็มีส่วน้อยมากส่วนใหญ่แล้วเคยผ่านเล่นมาโดยผ่านประสบการณ์ของสมาชิกแต่ละคนในวัยเด็กโดยตรง เพราะสมาชิกในกลุ่มทุกคนล้วนมีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัดซึ่งได้ซึมซับและถ่ายทอดมาอย่างฝังแน่นในจิตสำนึกที่ไม่เคยลืมเลือน 



วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556

กำทาย



กำทาย
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
๑. อุปกรณ์ในการเล่นมีดังนี้ (ใช้อย่างหนึ่งอย่างใด)
๑) ยางเส้น
๒) เมล็ดมะม่วงหิมพานต์
๓) เมล็ดสวาด
๔) เมล็ดสวด
๕) ลูกนู (ก้อนดินกลม)

การกระโดดเชือก



การกระโดดเชือก
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
เป็นการเล่นที่หัดให้ผู้เล่นใช้กำลังแขน กำลังขา เป็นคนตาไว และคล่องแคล่ว เครื่องใช้ในการเล่น คือ เชือกเส้นหนึ่งขนาดโตเท่าปลายนิ้วก้อยยาววาศอก ถ้ากระโดดมากคนด้วยกันต้องยาวประมาณ ๔-๕ วา

ไม้โถกเถก หรือขาโถกเถก



ไม้โถกเถก หรือขาโถกเถก
เป็นการเล่นต่อขาให้สูงสันนิษฐานว่าจะมาจากการทีผู้ใหญ่ใช้วิธีการนี้เดินข้าม น้ำ หรือ เข้าป่าเข้าพง แต่ไม่มีรองเท้าสวมใส่กันหนามไหน่ เมื่อป่าพงหมดไปมีรองเท้าสวมใส่ป้องกันหนามไหน่ได้ก็คงจะเลิกใช้กัน แต่เด็กนำมาเป็นของเล่น เล่นกันให้สนุกสนาน

งูกินหาง


งูกินหาง
แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน…” ประโยคคุ้น ๆ ให้การเล่น งูกินหาง ที่ยังติดตรึงในความทรงจำของใครหลาย ๆ คน และเป็นที่นิยมของเด็กในทุกเทศกาล ทุกโอกาสอีกด้วย

กระต่ายขาเดียว



กระต่ายขาเดียว
จำนวนผู้เล่น
     ไม่จำกัดจำนวน
วิธีเล่น
     ขีดเส้นแบ่งเขตบนพื้น และมีเขตจำกัดเส้นออกไว้ด้วย แบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 ฝ่ายเท่าๆ กัน ตกลงกันว่าใครจะเป็นกระต่ายก่อน กลุ่มที่เป็นกระต่ายจะคิดคำขึ้นหนึ่งคำ ให้มีพยางค์เท่ากับจำนวนคนในหมู่และจำต้องกำหนดพยางค์ให้แต่ละคนด้วย เมื่อคิดคำได้แล้วหมู่ที่เป็นฝ่ายเล่นทั้งหมดก็จะเป็นผู้เลือกว่า จะเอาพยางค์ใด ฝ่ายกระต่ายคนที่มีพยางค์ตรงกับที่โดนเลือกก็จะวิ่งกระโดดขาเดียวให้เร็วที่สุด และไล่จับแตะคนในฝ่ายเล่น ถ้าคนใดโดนจับหรือถูกตัวกระต่ายก็ต้องออกจากการเล่น แต่ถ้ากระต่ายเปลี่ยนขาหรือขาแตะพื้นจะต้องเปลี่ยนเป็นกระต่ายตัวใหม่ที่ฝ่ายเล่นจะเลือก เมื่อฝ่ายเล่นถูกไล่ตีจนหมดแล้วก็ถือว่าแพ้ ต้องมาเป็นฝ่ายกระต่ายบ้าง


ม้าก้านกล้วย



ม้าก้านกล้วย
  เป็นอีกหนึ่งการละเล่นที่แสดงถึงความมีภูมิปัญญาของคนไทยทีเดียว เพราะในสมัยก่อนแทบทุกบ้านจะปลูกต้นกล้วยไว้ทั้งนั้น ดังนั้น ต้นกล้วยจึงนำมาประยุกต์เป็นของเล่นให้เด็ก ๆ ได้อย่างดีทีเดียว โดยเฉพาะ ม้าก้านกล้วย ดูเหมือนจะถูกอกถูกใจเด็กชายวัยซนมากที่สุด เพราะเด็ก ๆ จะนำก้านกล้วยมาขี่เป็นม้า เพื่อแข่งขันกัน หรือทำเป็นดาบรบกันก็ได้

เล่นเตย


เล่นเตย
        จำนวนผู้เล่นฝ่ายละประมาณ  ๕-๗ คน  สถานที่เล่น  ลานบ้าน  ลานวัด  สนามกว้าง
วิธีเล่น
     
 แบ่งกลุ่มผู้เล่นออกเป็น    ฝ่ายเท่าๆกัน  ฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายรับ  อีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายรุก  สนามเป็นล็อก  เริ่มเล่นด้วยการเสี่ยง  ใครชนะการเสี่ยงเป็นฝ่ายรุกก่อน  ฝ่ายรับจะยืนในล็อกต่างๆ  ฝ่ายรับจะเริ่มเล่นด้วยการบอกรุกว่า  

แย้ลงรู



แย้ลงรู
จำนวนผู้เล่นไม่จำกัดจำนวน  สถานที่เล่น  สนามลานกว้าง  อุปกรณ์การเล่นเชือกหรือผ้าขาวม้า  ความยาวเท่าๆกัน  เท่าจำนวนผู้เล่น

มอญซ่อนผ้า



มอญซ่อนผ้า

           การละเล่นแสนสนุกที่ทำให้ผู้เล่นได้ลุ้นไปด้วย โดยใช้อุปกรณ์เพียงแค่ผ้าผืนเดียวเท่านั้น แล้วให้ผู้เล่นเสี่ยงทาย ใครแพ้คนนั้นต้องเป็น "มอญ" ส่วนคนอื่น ๆ มานั่งล้อมวง คนที่เป็น "มอญ" จะต้องถือผ้าไว้ในมือแล้วเดินวนอยู่นอกวง จากนั้นคนนั่งในวงจะร้องเพลงว่า "มอญซ่อนผ้า ตุ๊กตาอยู่ข้างหลัง ไว้โน่นไว้นี่ ฉันจะตีก้นเธอ" 


กาฟักไข่



กาฟักไข่

           เป็นอีกหนึ่งการละเล่นที่เคยได้ยินชื่อ แต่หลายคนไม่ทราบกติกา โดยวิธีการเล่นก็คือ ใช้อะไรก็ได้ลักษณะกลม เท่าจำนวนคนเล่น ยกเว้นผู้ที่เป็นกา 1 คน มาสมมติว่าเป็น "ไข่" แล้วเขียนวงกลมลงบนพื้น 2 วง วงแรกมีขนาดใหญ่ และอีกวงหนึ่งอยู่ข้างในวงแรก ขนาดเล็กกว่าวงแรก วางไข่ทั้งหมดไว้ในวงเล็ก ให้คนใดคนหนึ่งเป็นกา ยืนในวงกลมวงใหญ่ หรือนั่งคร่อมวงกลมเล็ก นอกนั้นทุกคนยืนรอบนอกวงกลมวงใหญ่ คอยแย่งไข่ คนเป็นกามีหน้าที่ป้องกันไข่ ไม่ให้ถูกแย่งไป

ลิงชิงหลัก



ลิงชิงหลัก 

        

       วิธีเล่นคือ  ผู้เล่นคนหนึ่่ง สมมุติว่าเป็น สิงหลักลอยไม่มีหลักจับ ส่วนคนที่เหลือ เป็นลิงจับหลัก ผู้เป็นลิงหลักลอย ต้องพยายามแย่งหลัก ในขณะที่ผู้เล่นทั้งหมดเปลี่ยนที่กัน ส่วนมากมักจะใช้สี่หลัก ผู้ที่เป็นลิงชิงหลักต้องคอย สังเกตดูว่าตนจะชิงหลักไหนได้สะดวก ก็รีบวิ่งไปชิงหลักนั้นไว้ ถ้าจับหลักได้ก่อน ผู้ที่มาช้าก็เป็นลิงหลักลอย คอยชิงหลักของคนอื่น บางคนทำท่าเปลี่ยนแล้วไม่เปลี่ยนเป็นการล่อหลอก ถือว่าเท้ายังยึดหลักอยู่ ผู้อื่นจะชิงไม่ได้


ขี่ม้าส่งเมือง



ขี่ม้าส่งเมือง

            วิธีเล่น   แบ่งผู้เล่นเป็น 2 ฝ่าย เท่าๆ กัน เลือกผู้เล่นคนหนึ่งเป็นเจ้าเมือง ซึ่งจะต้องไม่เข้ากับฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง แต่ละฝ่ายจับไม้สั้นไม้ยาว เพื่อเลือกว่าใครจะเริ่มเล่นก่อน ฝ่ายชนะจะเริ่มเล่นก่อนโดยการเดิน มากระซิบชื่อใครคนหนึ่งของฝ่ายตรงกันข้ามกับผู้ที่เป็นเจ้าเมืองก่อน แล้วกลับไป ฝ่ายตรงกันข้ามจะเดิน มากระซิบบ้าง ถ้ากระซิบชื่อได้ตรงกับที่ฝ่ายแรกกระซิบไว้


ตี่จับ





ตี่จับ
(TEE CHUB)
จำนวนผู้เล่น  : ไม่จำกัดจำนวน
วิธีเล่น  :
              แบ่งเป็น 2 ฝ่ายเท่าๆกัน และจับไม้สั้นไม้ยาวว่าใครจะเริ่มตี่ก่อน ฝ่ายที่ตี่ก่อน เริ่มเล่นโดยเลือก พวกของตนคนหนึ่งเป็นคนเข้าไปตี่ คนตี่จะออกเสียง "ตี่..." หรือ "หึ่ม...เข้าไปในแดนฝ่ายตรงข้าม ในขณะ เดียวกันฝ่ายตรงข้ามต้องคอยยึดตัวไม่ให้กลับเข้าแดนของตนได้ จนกว่าจะขาดเสียงผู้นั้นต้องมาเป็นเชลย ของฝ่ายตรงข้าม


อ้ายเข้อ้ายโขง



อ้ายเข้อ้ายโขง
(IA KHAE IA KHONG)

จำนวนผู้เล่น  : ไม่จำกัดจำนวน
วิธีเล่น  :
              จับไม้สั้นไม้ยาวว่าใครจะเป็นอ้ายเข้ สมมุติเป็นแม่น้ำมี 2 ฝั่ง คนอื่นๆ อยู่บนบก อ้ายเข้อยู่กลางแม่น้ำ ทุกคนต้องว่ายน้ำข้ามฝั่ง อ้ายเข้คอยจับคนกำลังว่ายน้ำให้ได้ ถ้าอ้ายเข้จับใครได้คนนั้นต้องเป็นอ้ายเข้แทน ระหว่างวิ่งข้ามฝั่ง คนบนบกจะหยอกล้อทำท่าทางต่างๆ


วันเสาร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2556

เดินกะลา

เดินกะลา




           ดูจะเป็นการละเล่นพื้นบ้านที่หาดูได้ไม่บ่อยนัก แต่หากเป็นสมัยก่อนจะเห็นเด็ก ๆ เดินกะลา กันทั่วไป โดยผู้เล่นจะต้องนำกะลามะพร้าว 2 อันมาทำความสะอาดแล้วเจาะรูตรงกลาง ร้อยเชือกให้แน่น เพื่อป้องกันไม่ให้เชือกหลุดเวลาเดิน เวลาเดินให้ใช้นิ้วหัวแม่เท้ากับนิ้วชี้คีบเชือกเอาไว้แล้วเดิน หากมีเด็ก ๆ หลายคนอาจจัดแข่ง เดินกะลา ได้ด้วยการกำหนดเส้นชัยไว้ใครเดินถึงก่อนก็เป็นผู้ชนะไป

รีรีข้าวสาร

รีรีข้าวสาร

           เชื่อเลยว่า ชีวิตในวัยเด็กของคนส่วนใหญ่ผ่านการละเล่น "รีรีข้าวสาร" มาแล้ว และยังร้องบทร้องคุ้นหูที่ว่า "รีรี ข้าวสาร สองทะนานข้าวเปลือก เด็กน้อยตาเหลือก เลือกท้องใบลาน คดข้าวใส่จาน คอยพานคนข้างหลังไว" ได้ด้วย

หมากเก็บ

หมากเก็บ



           การละเล่นยอดฮิตสำหรับเด็กผู้หญิงนั่นเอง ปกติจะใช้ผู้เล่น 2-4 คน และใช้ก้อนกรวดกลม ๆ 5 ก้อนเป็นอุปกรณ์

เล่นซ่อนหา หรือ โป้งแปะ

เล่นซ่อนหา หรือ โป้งแปะ


           "เล่นซ่อนหา" หรือ "โป้งแปะ" เป็นหนึ่งในการละเล่นพื้นบ้านที่มีมาช้านาน และยังได้รับความนิยมอยู่ทุกยุคทุกสมัย เพราะกติกาง่าย แถมสนุก และต้องมีการกำหนดอาณาเขต เพื่อไม่ให้กว้างจนเกินไป จนถึงวันนี้ก็ยังมีเด็ก ๆ จับกลุ่มกันเล่นซ่อนหาให้เห็นกันอยู่